กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๒

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔)

พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒ ให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอื่น โดยคุ้มครองอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระบบความรู้ และสร้างมาตรฐานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้ทัดเทียมกับการแพทย์แผนปัจจุบันและนำไปใช้ในระบบสุขภาพอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย เพื่อเป็นทางเลือกแก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๒) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทยและการแพทย์ทางเลือกอื่น(

๓) กำหนด พัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และเสนอแนะเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือก

(๔) ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือกอื่น

(๕) พัฒนารูปแบบ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบริการด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือกอื่น ในระบบบริการสุขภาพ

(๖) พัฒนาระบบและกลไกเพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้เกิดผลสำเร็จแก่ราชการและประชาชน

(๗) รวบรวม อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทยและสมุนไพร

(๘) ประสานความร่วมมือด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ แผนจีนและการแพทย์ทางเลือกอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ข้อ ๓ ให้แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ดังต่อไปนี้

(๑) สำนักงานเลขานุการกรม

(๒) สถาบันการแพทย์แผนไทย

(๓) สำนักการแพทย์ทางเลือก

ข้อ ๔ ในกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายในเพื่อทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในกรม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรมรับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของกรม

(๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๕ ในกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เพื่อทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่ารับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม

(๒) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการของกรม

(๓) ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานในสังกัดกรม

(๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๖ สำนักงานเลขานุการกรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ปฏิบัติงานสารบรรณของกรม

(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของกรม

(๓) วางระบบและดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคาร สถานที่และยานพาหนะของกรม

(๔) จัดระบบและดำเนินการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรม

(๕) จัดทำและประสานแผนงาน และแผนปฏิบัติการของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และเป็นไป ตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง รวมทั้งเร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด

(๖) ติดต่อและประสานงานกับองค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกี่ยวกับความร่วมมือและความช่วยเหลือด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

(๗) เป็นศูนย์ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศของกรม

(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ กิจกรรม ความก้าวหน้า และผลงานของกรม

(๙) ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของกรม(๑๐) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๗ สถาบันการแพทย์แผนไทย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย ยาแผนไทยและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

(๒) กำหนด พัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และเสนอแนะเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย ยาแผนไทยและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

(๓) พัฒนารูปแบบ ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทยในระบบสุขภาพ

(๔) รวบรวม อนุรักษ์ เฝ้าระวัง คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทย และสมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๕) ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย ยาแผนไทยและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

(๖) พัฒนาระบบและกลไกเพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้เกิดผลสำเร็จแก่ราชการและประชาชน

(๗) รับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทย

(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตยาแผนไทยและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน

(๙) ประสานความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย กับการแพทย์ดั้งเดิมของประเทศอื่น

(๑๐) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๘ สำนักการแพทย์ทางเลือก มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และคัดกรองศาสตร์การแพทย์แผนจีน และการแพทย์ทางเลือกอื่น ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง(

๒) ถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีด้านการแพทย์แผนจีนและการแพทย์ทางเลือกอื่น ที่เหมาะสม

(๓) กำหนด พัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และเสนอแนะเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการแพทย์แผนจีนและการแพทย์ทางเลือกอื่น

(๔) พัฒนารูปแบบ ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีบริการการแพทย์แผนจีนและการแพทย์ ทางเลือกอื่นผสมผสานในระบบสุขภาพ

(๕) ประสานความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการแพทย์แผนจีนและการแพทย์ทางเลือกอื่น

(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
วิทยา แก้วภราดัย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการแบ่งส่วน
ราชการและอำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *